ส่วนประกอบของโครงหลังคา


ส่วนประกอบของโครงหลังคามีดังนี้

1. ระแนง หรือ แป


ระแนง Batten เป็นไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ขนาดหน้าตัดประมาณ 1x1นิ้ว หรือ 1 1/2x 1 1/2นิ้ว วางห่างกันตามขนาดของกระเบื้องแต่ละชนิดที่ใช้ ใช้รองรับกระเบื้องหลังคาขนาดเล็กในสมัยเก่า เช่น กระเบื้องหลังคาบ้านทรงไทย กระเบื้องหลังคาวัดหรือโบสถ์ ในปัจจุบัน ได้มีการนำระแนงมารองรับกระเบื้องเอสซีจี ไม่ว่าจะเป็น ซีแพคโมเนีย เพรสทีจ นิวสไตล์ ไอยร่า เอ็กซ์เซลล่า เพราะความสวยงามของกระเบื้องเหล่านี้ แต่เพราะ กระเบื้องเหล่านี้ มีน้ำหนักมาก ระแนงในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไปใช้ เหล็กกล่อง ขนาด 25x25x1.6มม. หรือ 50x50x1.6มม. หรือแล้วแต่ความทนทานที่ต้องการ วางห่างกันตามมาตรฐานที่กระเบื้องแต่ละประเภทกำหนดไว้ เพื่อให้มีความแข็งแรง แบกรับน้ำหนักกระเบื้องได้ดี ไม่ยืดหด คดโค้ง บิดเบี้ยว เหมือนกับระแนงไม้ ทำให้ได้แนวกระเบื้องหลังคาที่ตรง และดูสวยงาม

สำหรับแป Purlin มีให้เลือกใช้เป็นประเภทไม้ ซึ่งมักจะใช้ไม้ยาง มีขนาดหน้าตัดทั่วไปคือ 1 1/2 x 3 นิ้ว และ 2 x 4 นิ้ว ใช้รองรับกระเบื้องแผ่นใหญ่ ที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น กระเบื้อง ลอนคู่ กระเบื้องลูกฟูก ระยะห่างโดยทั่วไปจะประมาณ 1 เมตร (สำหรับกระเบื้องที่ยาว 1.2ม.) หรือระยะห่าง 1.3ม. (สำหรับกระเบื้องที่ยาว 1.5ม.) ถ้าเป็นเมทัลชีท หรือสังกะสีที่มีน้ำหนักเบามาก ปัจจุบันนิยมใช้แปเหล็กตัวซีบาง หรือเหล็กกล่อง ขนาดทั่วไปคือ C 75x40x15x2.3มม. หรือ C 100x50x20x3.2มม.

นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาระบบแปที่เป็นเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ ทำให้โครงสร้างไม่เป็นสนิม ไม่ต้องทาสีซ้ำ ซึ่งมีหลายขนาดให้เลือกสรรค์ตามประเภทของกระเบื้อง และการรับน้ำหนักที่ต้องการ

ที่สำคัญ ระยะแปของกระเบื้องแต่ละประเภทสามารถจำแนกได้ดังนี้

 
ภาพตัวอย่างแปสังกะสี 
แปสังกะสี
แปสังกะสี 0.55มม.
แปสังกะสี
แปสังกะสี 1.00มม.
ประเภทกระเบื้อง
  ขนาดกระเบื้อง (ซม.) 
  นน. (กก./ผ.) 
  ระยะแป (ซม.) 
ลอนคู่ 120ซม.
50x120 หนา 6มม.
7.2
100
ลอนคู่ 150ซม.
50x150 หนา 6มม.
9.0
130
ซีแพคโมเนีย
33x42
4.05
32-34
เพรสทีจ
33x42
5.2
31-33
นิวสไตล์ สไตล์ลิช
40x40
5.6
27-29
นิวสไตล์ รัสทีค
40x40
6.5
27-29
นิวสไตล์ โอเรียนทอล
30x45
3.7
27-29
พรีม่า
55x65 หนา 5มม.
3.9
50
เคิฟลอน
55x120x0.5
7.0
101
ไอยร่า คลาสสิค 9นิ้ว
60x44 หนา 6มม.
2.5
15 (แถวแรก 5.5)
ไอยร่า คลาสสิค 13นิ้ว
80x51 หนา 6มม.
4.4
20 (แถวแรก 11)
ไอยร่า ทิมเบอร์
80x51 หนา 6มม.
4.4
20 (แถวแรก 9)
ไอยร่า โมเดิร์น
80x51 หนา 6มม.
4.4
20 (แถวแรก 11)
เอ็กซ์เซลล่า คลาสสิค
33x42
3.5
32-34
เอ็กซ์เซลล่า เกรซ
34.5x42
3.7
32.5-33.5
เอ็กซ์เซลล่า โมเดิร์น
33.5x42
3.8
32.5-33.5
เทอราคอตต้า
29x45 ระยะลอน 7ซม.
3.8
38

2. จันทัน 

จันทัน Rafter เป็นส่วนโครงสร้างท่รับน้ำหนักหลังคาจากแป ผู้ออกแบบควรจะพิจารณาหน้าตัดของจันทันจากพื้นที่รับหลังคา และน้ำหนักของกระเบื้องแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้ จันทันจะวางพาดระหว่างอเสเพื่อถ่ายน้ำหนักที่จันทันรับให้อเส โดยทั่วไปหน้าตัดที่ใช้ได้แก่  1 1/2" x 6", 2"x6", 1 1/2"x8", 2"x 8"เป็นต้น โดยยึดกับอะเสด้วยตะปูตอกเฉียงหรือเหล็กฉาก

ความยาวของจันทันต้องวัดตามแนวลาดเอียงของหลังคา คือวัดจากรูปตัดตามขวาง เนื่องจากหลังคายิ่งลาดเอียงมากเท่าใด ความยาวของจันทันจะเพิ่มมากขึ้นจากแนวราบเท่านั้น

นอกจากจันทันจะรับกระเบื้องจากแปแล้ว ยังรับน้ำหนักฝ้าเพดานร่วมกับอเส หรือ ขื่อ (ถ้ามีอีกด้วย) โดยจะยึดโครงค่าวฝ้ากับจันทัน เพื่อป้องกันฝ้าเพดานตกท้องช้าง




นอกจากนี้อาจจะแบ่งตามการเรียกออกเป็น จันทันพราง และจันทันเอก มีความแตกต่างกันตรงที่จันทันเอกนั้น จะเป็นตัวที่อยู่ ณ ตำแหน่งหัวเสา ส่วนจันทันพรางจะเป็นแต่ละตัวที่อยู่ระหว่างช่วงเสาถึงเสา หน้าที่ของจันทันจะเป็นตัวแบกรับน้ำหนักจากระแนงหรือแป โดยทั่วไปจันทันจะเป็นไม้เนื้อแข็งมีขนาดหน้าตัดประมาณ 1 1/2 x 5นิ้ว และ 2x6นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่องขนาด C 125x50x20x3.2มม. หรือ C 150x50x20x3.2มม. วางห่างกันประมาณ 60-80ซม. (ถ้าใช้รองรับระแนง) และวางห่างกันประมาณ 1-1.2ม. (ถ้าใช้รองรับแป) ก็ได้
 โครงสร้างหลังคา


3. ตะเข้สัน หรือ ตะเข้ราง

ตะเข้สัน Hip Rafter หรือ ตะเข้ราง Valley Rafter ตะเข้สันหรือตะเข้รางเปรียบเสมือนเป็นจันทันเอกที่วางอยู่ทั้งสี่มุมของหลังคาทรงปั้นหยา ตะเข้สันหรือตะเข้รางจะต้องมีขนาดหน้าตัดความสูงเท่ากับจันทัน เพราะจันทันทุกตัวจะวิ่งมาเกาะกับตะเข้สัน หรือ ตะเข้ราง โดยระดับหลังของจันทันและตะเข้จะต้องเท่ากัน เพื่อให้แปหรือระแนง สามารถวางได้ในระดับเดียวกันโดยรอบทั้งสี่ด้านของหลังคา และเนื่องจากตะเข้สัน หรือ ตะเข้รางต้องแบกรับน้ำหนักจากจันทันหลายตัว แต่ไม่สามารถขยายหน้าตัดให้ใหญ่ขึ้นได้ เพราะต้องรักษาระดับหลังตะเข้กับจันทันให้เท่ากัน จึงมักพบว่าตะเข้สันหรือตะเข้รางนั้นมักจะเป็นสองตัวคู่ เพื่อให้การแบกรับน้ำหนักทำได้ดี เช่น 2 - 1 1/2 x 5 นิ้ว และ 2-2 x 6 นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่องขนาด 2C-125x50x20x3.2มม. หรือ 2C-150x50x20x3.2มม. เป็นต้น หรืออาจใช้วิธีเสริมค้ำยันใต้ตะเข้สัน ตะเข้รางเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและช่วยลดการแอ่นตัวก็ได้

 

4. อกไก่

อกไก่ Ridge อกไก่ก็เปรียบเสมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคาทรงจั่วหรือทรงปั้นหยา ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากจันทันทุกตัวทั้งสองด้าน ทำให้ต้องแบกรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปจะเป็นไม้เนื้อแข็งขนาด 2 - 2x6นิ้ว และ 2x8 นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่อง เช่น C 150x50x20x3.2มม. และ 2C 150x50x20x3.2มม. ก็ได้


5. ดั้ง

ดั้ง King Post โดยปกติอกไก่จะวางอยู่บนเสาของอาคาร แต่ถ้าตำแหน่งของอกไก่วางไม่ตรงกับเสาของอาคาร ก้ต้องมีเสาเสริมขึ้นมารองรับที่เรียกว่า ดั้ง เพื่อคอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ทดแทนเสาจริงของอาคาร โดยทั่วไป จะเป็นไม้เนื้อแข็งสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4x4นิ้ว และ 6x6นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซี หรือเหล็กกล่อง เช่น 2C 100x50x20x3.2มม. และ 2C 125x50x20x3.2มม. วางประกบเข้ากันเป็นรูปเสาก็ได้

6. ขื่อ

ขื่อ Tie Beam หรือเรียกว่า สะพานรับดั้ง สืบเนื่องจากอกไก่ไม่ได้วางอยู่ตำแหน่งที่มีเสามารองรับ จึงต้องอาศัยดั้งเข้ามาแบกรับแทน และทำการถ่ายน้ำหนักต่อไปยังคาน ที่เข้ามาแบกรับดั้งอีกที่หนึ่ง คานที่แบกรับดั้งนี้ เรียกว่า ขื่อ ซึ่งขื่อก็จะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคารต่อไป ขนาดของขื่อโดยทั่วไปจะเป็นไม้เนื้อแข็งขนาด 2 - 2x6นิ้ว และ 2 - 2x8นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่อง เช่น 2C 125x50x20x3.2มม. และ 2C 150x50x20x3.2มม.


7. อเส

อเส Stud Beam อเสก็คือคานชั้นบนสุดของอาคาร ทำหน้าที่ยึดปลายเสาตอนบนเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น และถ่ายน้ำหนักโครงหลังคาสู่เสา ทำหน้าที่เปรียบเสมือนคานรัดรอบตัวอาคาร และเป็นคานแบกรับน้ำหนักจากจันทันแต่ละตัวด้วย ขนาดของอเสโดยทั่วไปคำนวณตามความยาวของเสา และพื้นที่หลังคาที่รับน้ำหนัก

อเสมักจะใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 2x6 และ 2x8นิ้ว หรืออาจใช้เป็นเหล็กตัวซี หรือเหล็กกล่อง เช่น C 125x50x20x3.2มม. และ C 150x50x20x3.2มม.


8. เชิงชายหรือทับเชิงชาย หรือทับปั้นลม หรือปิดกันนก และปั้นลม

เชิงชาย ปั้นลม Eaves ไม้เชิงชายเป็นไม้ที่ใช้ปิดปลายชายคาของจันทันทุกตัวโดยเป็นตัวปรับแนวชายคายึดหัวจันทันให้เป็นแนวตรง สวยงาม และป้องกันการผุเปื่อยของไม้ที่ปลายจันทันอันเนื่องมาจากถูกแดดหรือฝน ซึ่งแดดหรือฝนนี้ จะทำให้โครงสร้างผุได้ง่าย

ทับเชิงชายหรือทับปั้นลม หรือที่เรียกว่า แผ่นปิดกันนก เป็นไม้ที่ตีทับลงไปบนไม้เชิงชายหรือปั้นลมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีการเลื่อยไม้ให้มีส่วนโค้งไปมาสอดคล้องกับลอนของกระเบื้องหลังคาแต่ละชนิด ถือว่าเป็นช่องปิดระหว่างจันทันกับหลังคา เพื่อป้องกันไม่ให้ นก หนู หรือแมลงใดๆ เข้าไปทำรังใต้หลังคาได้ ส่วนปั้นลมนั้นจะเป็นไม้ที่ตีทับลงไปบนด้านข้างของจันทันตัวนอกสุดของหลังคาที่เป็นทรงจั่ว เพื่อป้องกันไม่ให้จันทันถูกทำลายจากฝนหรือแดด โดยทั่วไปขนาดของเชิงชายและปั้นลมคตือ 3/4 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว และขนาดของทับเชิงชายหรือทับปั้นลมหรือปิดกันนกคือ 3/8 x 4 นิ้ว และ 1/2 x 6 นิ้ว

ความยาวของไม้เชิงชาย ควรพยายามเลือกใช้ไม้ยาวที่สุด เนื่องจากเมื่อมองด้านข้าง จะสวยงาม และไร้รอยต่อได้