สายไฟ สายไฟฟ้า VAF / VAF-G สายแบน ดูกราฟราคา
วิธีเลือกซื้อสายไฟ สำหรับไฟฟ้า บ้านพักอาศัยสายไฟฟ้า (Cable wire)
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อนำมาติดตั้งในอาคารโดยทั่วไปนั้นหากไม่ได้ศึกษา อาจจะทําให้ได้สายไฟฟ้าที่ผิดประเภทของการใช้งานไปได้ เช่น มีขนาดใหญ่เกินความจําเป็นในการส่งกระแสไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสไฟฟ้าที่ส่งมาได้มากพอที่ความสามารถของสายไฟฟ้านั้นๆจะรับได้ และที่สำคัญคือหากเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้ามากจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นนั้นละลายออก ส่งผลให้สายทองแดงหรืออลูมิเนียมเกิดการลัดวงจรเมื่อ สัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟได้ในที่สุด
โดยสายไฟแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
สายไฟ THW
สายไฟฟ้า THW เหมาะกับการใช้งานทั่วไป โดยเฉพาะงานเดินสายร้อยในท่อ และ พาดสายในอากาศยึดกับลูกฉนวนลูกถ้วย เป็นสายไฟฟ้าที่ทนแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750V มีฉนวน PVC หุ้ม 1 ชั้น และเป็นสายเพียงเส้นเดียว โดยการติดตั้งสายต้องร้อยเข้าไปในท่อร้อยสายไฟฟ้าอีกที่หนึ่งเพื่อป้องกันกรณีที่ต้องการฝังท่อในผนังคอนกรีต หรือเดินบนฝ้าเพดาน สายประเภทนี้นิยมเดินร้อยท่อหรือเดินลอยเป็นหลักไม่แนะนำให้เอามาเดินตีกิ๊บ หากจะตีกิ๊บแนะนำให้ใช้สายแบบ VAFจะประหยัดกว่า โดยมากสายไฟ THW ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้
ข้อควรระวัง!!! ห้ามฝังใต้ดินหรือติดตั้งนอกอาคาร หรือที่ที่มีโอกาสให้สายสัมผัสกับดิน หรืออากาศโดยตรง
สายไฟ VAF
สายไฟฟ้า VAF เหมาะกับการเดินเกาะพื้นผิวอาคารโดยวิธีตีกิ๊บรัดสายติดกับอาคาร เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้กันมากตามบ้านทั่วไป หุ้มด้วยฉนวน PVC ไว้ป้องกันความชื้นและช่วยป้องกันความเสียหายทางกลกับฉนวนภายใน ซึ่งหุ้มตัวนำทองแดงอีกชั้นหนึ่ง มีทั้งชนิด 2 แกน และ 3 แกน จะมีสายดินเพิ่มขึ้นอีก 1สาย โดยสายไฟ VAF สามารถทนแรงดันไฟฟ้า 300/500V (ไฟตามบ้านเรามีแรงดัน 220V) ตัวสายจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 70°C นิยมนำมาใช้เดินลอยตีกิ๊บหรือเข็มขัดรัดสาย(Clipรัดสาย)กันภายในอาคาร แกนทองแดงภายในสายจะมีทั้งแบบแข็ง(Solid) และแบบตีเกลียว(Strand) มีวิธีการเลือกใช้คือ หากต้องการงานเดินสายที่โค้งงอได้มาก ควรเลือกแบบตีเกลียว แต่หากเดินสายปกติไม่มีโค้งงอมากนัก ก็ให้เลือกแบบแข็ง
ข้อควรระวัง!! คือห้ามใช้สายไฟประเภทนี้ในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 V (ในระบบ 3 phase แต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 phase แรงดัน 220 V. จะใช้ได้) รวมถึงไม่ควรนำสาย VAF ไปติดตั้งนอกอาคาร หรือฝังใต้ดินเด็ดขาด เพราะฉนวนที่หุ้มสายไฟ VAF นี้ ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศหรือสารอินทรีย์ที่อยู่ในดินได้นาน
สายไฟ VAF VAF-G
- ประเภทตัวนำ
- Solid (เดี่ยวแข็ง)
- Stranded (ตีเกลียว)
- แรงดันใช้งาน
- 300/500 V
- ขนาดพื้นที่หน้าตัด (ตร.มม.)
- 2 แกน 1-16
- 2 แกน มีสายดิน 1-16
- ประเภทการใช้งาน
- เดินเกาะผนัง เดินในช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อ และห้ามฝังดิน
สายไฟ VCT
สาย VCT นิยมใช้ในการเดินสายเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากตัวสายจะอ่อนดัดโค้งงอได้ง่าย อ่อนมากกว่าสายไฟ NYY สายไฟฟ้า VCT เป็นสายไฟฟ้าที่สามารถฝังใต้ดินหรือติดตั้งนอกอาคารได้ เป็นสายอ่อน สามารถทนความร้อนได้ 70°C และ ทนแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750V มีฉนวนหุ้ม 2ชั้น ซึ่งฉนวนชั้นนอกทนต่อสภาพอากาศและทนการสั่นสะเทือน ทองแดงแกนกลางจะเป็นฝอยๆ มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน นิยมเดินสายตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) หรือเดินในราง แต่ก็สามารถเดินตีกิ๊บ เดินร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง ก็ทำได้หมดสำหรับสาย VCT โดยปกติจะใช้เพื่อเดินต่อระหว่างอุปกรณ์ มากกว่าจะเอามาเป็นสายหลักในการเดินภายในอาคาร เนื่องจากสายแข็งจะเดินภายในท่อได้ง่ายกว่า
สายไฟ NYY
สายไฟฟ้า NYY เหมาะกับการวางฝังในดินโดยตรง โดยบริเวณนั้นต้องไม่มีแรงกระแทกที่จะทำให้เกิดการชำรุดของสายได้ เป็นสายที่มีฉนวน 2 ชั้น โดยฉนวน PVC ชั้นในจะทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มตัวนำเอาไว้ส่วนฉนวน PVC ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นเปลือก ซึ่งสามารถทนความชื้นได้สูง สายชนิดนี้จึงสามารถใช้ฝังดินได้โดยตรงและมีความคงทนสูงไม่ว่าจะเดินแบบเปล่าหรือเดินร้อยท่อฝังดินก็ทำได้ สามารถทนความร้อนได้ 70°C และ ทนแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750V มีทั้งแบบแกนเดียวแบบหลายแกน แบบหลายแกนมีสายดิน
ข้อควรระวัง!! แกนทองแดงตรงกลางจะเป็นแบบตีเกลียวทำให้โค้งงอสายได้ระดับหนึ่งแต่ไม่ควรโค้งมากไป มีโอกาสหักสูง หากต้องการโค้งมากๆ ควรใช้สาย VCT มากกว่า
ประเภทตัวนำไฟฟ้า
ลักษณะของตัวนำไฟฟ้าภายในสายไฟ สามารถแบ่งได้ 2 แบบหลักๆคือ แบบสายกลม สายแข็ง (Solid) และ แบบสายตีเกลียว สายแบน สายอ่อน(Stranded) ซึ่งทั้ง 2 แบบก็ทำให้สายไฟมีคุณสมบัติต่างๆแตกต่างกัน ดังนี้
- Solid ตัวนำจะเป็นโลหะแบบเดี่ยว
- Stranded ตัวนำจะเป็นสาย Solid ขนาดเล็กๆหลายหลายๆเส้น มาพันเป็นเกลียวรวมกันเป็นกลุ่มเดียว ดังรูปข้างล่างนี้
การเลือกใช้แบบ Solid หรือ Stranded
- Solid สายแบบนี้จะค่อนข้างแข็ง จึงเหมาะกับงานที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวมากนัก เช่น วงจรบน Protoboard เพราะสามารถเสียบสายลงไปในรู ได้โดยไม่แตกปลายแม้จะใช้หลายครั้งแล้วก็ตาม
- Stranded สายแบบนี้จะยืนหยุ่นได้ดี (Flexible) จึงเหมาะกับงานที่ต้องการเคลื่อนไหว เช่นบนตัวหุ่นยนต์ แขนกล หรือวงจรสายลอยต่างๆ
เปรียบเทียบ Solid หรือ Stranded ในส่วนอื่นๆ
- การทนกระแส สายแข็ง Solid > สายตีเกลียว Stranded เพราะพื้นที่หน้าตัดรวมของ Solid จะมากกว่าแบบ Stranded เพราะ Stranded อาจมีช่องว่างระหว่างตัวนำเล็กน้อย จึงทำให้ Solid มีความต้านทานน้อยกว่า จึงทนกระแสได้มากกว่า
- ความหลากหลาย สายแข็ง Solid < สายตีเกลียว Stranded เนื่องจากแบบ Stranded ผลิตออกมาหลายขนาดเพราะผลิตได้ง่ายกว่า ในขณะที่ Solid จะผลิตออกมาเฉพาะเส้นเล็กๆ
- ความทนทานต่อแรงฉีก ตัด กระแทก สายแข็ง Solid > สายตีเกลียว Stranded
- ความยืดหยุ่น สายแข็ง Solid < สายตีเกลียว Stranded
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า