ขอราคา คอนกรีตผสมเสร็จ ซีแพค cpac
ราคาพิเศษ

ผ่าน ไลน์ไอดี: @onestockhome
ทราบหรือไม่ว่า ksc. ที่แท้จริงนั้นหมายถึง Kilogram per Square Centimeter หรือ กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร โดย ksc นั้น จะมีทั้งในรูปแบบ cube หรือ Cylinder ซึ่งหน่วยดังกล่าวนี้ มาจากความต้องการหน้างาน ว่าจะมีการเก็บก้อนปูนแบบใด ตัวอย่างเช่น
คอนกรีต ZBDM24A000 หมายถึง คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240ksc (Cube) หรือ 210 ksc (Cylinder นั่นเอง)
ตารางเปรียบเทียบ
CUBE     CYLINDER
180 = 140
210 = 180
240 = 210
280 = 240
300 = 250
320 = 280
350 = 300
380 = 320
400 = 350
420 = 380
450 = 400
480 = 420
500 = 450
550 = 500
600 = 550
650 = 600
850 = 800
คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตปกติที่ใช้กันทั่วไป ที่ออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (โดยทั่วไปแล้ว กำลังอัดของคอนกรีต จะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้เวลา 28วัน นับตั้งแต่ผลิต) เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น การเลือกใช้ คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นการลดปัญหาโครงสร้าง ที่เกิดจาก ส่วนผสมที่ไม่แน่นอนและมีกำลังอัดที่ไม่ได้มาตรฐาน จากการผสมคอนกรีตเอง
คุณสมบัติ
  • มีกำลังอัดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (ทรงลูกบาศก์)
  • มีค่ายุบตัว ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับโครงสร้างและวิธีการเท 3 ระดับ คือ
  1. 7.5 +/- 2.5ซม.
  2. 10.0 +/- 2.5ซม.
  3. 12.5 +/- 2.5ซม.
  • ลดปัญหาการผสมมือที่มีส่วนผสมที่ไม่แน่นอน และได้กำลังอัดไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
เหมาะสำหรับโครงสร้างใด
เหมาะสำหรับใช้งานโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
    • สำหรับโครงสร้างพื้น ควรเลือกคอนกรีตผสมเสร็จ ที่มีกำลังอัด เหมาะสมกับการใช้งาน และมีขั้นตอนการเตรียมงานและการทำงานพื้นที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้งานพื้นได้คุณภาพและใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

การบ่มคอนกรีต

การบ่มคอนกรีต Curing หมายถึง การควบคุมและป้องกันมิให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อช่วยให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติทนทาน ทึบน้ำ ไม่สึกกร่อน และช่วยลดการหดตัว
การบ่มคอนกรีต Curing หมายถึง การควบคุมและป้องกันมิให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อช่วยให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติทนทาน ทึบน้ำ ไม่สึกกร่อน และช่วยลดการหดตัว

ระยะเวลาในการบ่ม หากทำการบ่มชื้น คอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 1 อย่างต่อเนื่อง 7 วัน กำลังอัดที่ได้เมื่ออายุ 28 วัน เท่ากับการบ่มชื้นต่อเนื่อง 28 วัน ดังนั้นจึงควรทำการบ่มคอนกรีสำหรับคอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 1 เป็นเวลา 7 วัน สำหรับคอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 3 ควรบ่มอย่างน้อย 3 วัน พึงตระหนักว่าการปล่อยปะละเลยไม่เอาใจใส่ต่อการบ่ม ส่งผลเสียต่อกำลังอัดคอนกรีตอย่างมาก ต้องป้องกันอย่าให้คอนกรีตได้รับความสะเทือน และเมื่อพ้นระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรือเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วต้องทำการบ่มทันที

วิธีการบ่ม การบ่มในสภาพอุณหภูมิปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การเพิ่มความชื้นและวิธีป้องกันการสูญเสียความชื้น

1. การเพิ่มความชื้น เป็นการเพิ่มความชื้นต่อหน้าผิวของคอนกรีตโดยตรง หลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว โดยการขังน้ำ ฉีดน้ำ พรมน้ำ และใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม วิธีการนี้เป็นวิธีการบ่มที่ดี และ ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวคอนกรีต
วิธีการบ่ม ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
1. การขังน้ำ
เหมาะสมกับงานคอนกรีตที่มีพื้นที่ราบ เช่น แผ่นพื้นทั่วไป ดาดฟ้า พื้นสะพาน ถนนทางเท้า สนามบิน
วิธีการ ทำได้โดยใช้ดินเหนียวหรือก่ออิฐทำเป็นคันโดยรอบของงานคอนกรีตที่จะบ่ม และควรระวังอย่าให้น้ำที่ใช้บ่มมีอุณหภูมิต่ำกว่าคอนกรีตเกิน 10 องศา
1. ทำได้สะดวก ง่าย ราคาถูก
2. วัสดุหาได้ง่าย เช่น ดินเหนียว และน้ำ
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
4. ซ่อมแซมได้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ทำคันดินเหนียว และพังก็สามารถซ่อมได้ทันที
1. ต้องหมั่นตรวจดูรอยแตกร้าว ของดินเหนียวที่นำมาใช้อยู่เสมอ มิให้น้ำซึมหนี
2. ต้องทำความสะอาดบริเวณคอนกรีตที่บ่ม เมื่องานบ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2. การฉีดน้ำหรือพรมน้ำ
วิธีการนี้ใช้ได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง เช่น ผนังกำแพง พื้น
1. ทำได้สะดวก ได้ผลดี
2. ค่าใช้จ่ายถูก
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรได้
4. ไม่ต้องดูแลตลอดเวลา
1. ไม่เหมาะสมกับสถานที่ที่หาน้ำได้ยาก
2. ไม่สะดวกกับการฉีดกับกำแพงในแนวดิ่ง เพราะน้ำจะแห้งเร็ว
3. การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม
เช่น ผ้าใบ กระสอบ หรือวัสดุอื่นที่อุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นผ้าใบ ควรใช้สีขาว เพราะสะท้อนความร้อนได้ดี และรอยต่อต้องเหลื่อมกันให้มาก ถ้าใช้ฟางหรือขี้เลื่อย ควรคลุมให้ทั่ว หนามากกว่า 15 ซม. และฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
1. ได้ผลดีมาก คุ้มต่อการลงทุน
2. ทำได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
4. สามารถหาวัสดุมาใช้ได้ง่าย
1. ถ้าอากาศร้อน จะแห้งเร็ว
2. ถ้าพื้นที่กว้าง การใช้ผ้าใบคลุม จะเปลืองค่าใช้จ่าย
3. ต้องฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
4. ต้องพิจารณาก่อนที่จะนำวัสดุใดมาใช้ ว่าวัสดุนั้นเป็นอันตรายต่อซีเมนต์ หรือหน้าผิวคอนกรีตหรือไม่


2. วิธีป้องกันการเสียน้ำจากเนื้อคอนกรีต วิธีการนี้ป้องกันความชื้นจากผิวคอนกรีตมีให้ระเหยออกสู่ภายนอก การบ่มด้วยวิธีนี้ทำใด้หลายวิธี

วิธีการบ่ม ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
1. การใช้กระดาษกันน้ำซึมคลุม
กระดาษนี้ ทำด้วยกระดาษเหนียว ยึดติดกันด้วยกาว ประเภทยางมะตอยและเสริมความเหนียวด้วยใยแก้ว และมีคุณสมบัติยืดหดตัวไม่มาก วิธีการ ใช้รอยต่อควรเหลื่อมกันให้มากพอสมควร และผนึกรอยต่อติดแน่นด้วยกาวหรือเทป หรือทรายก็ได้
1. ทำได้สะดวกรวดเร็ว
2. ป้องกันคอนกรีตไม่ให้แห้งได้เร็ว แต่ต้องคอยราดน้ำไว้ด้วย
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรได้
1. ราคาแพง
2. ไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน
3. ไม่สะดวกในการเก็บรักษาต่อไป เมื่อนำมาใช้งานต่อ
2. ใช้แผ่นพลาสติกคลุม
เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และสามารถใช้คลุมงานคอนกรีตที่จะบ่มได้ทันทีที่ต้องการ
1. มีน้ำหนักเบา ปฏิบัติงานง่าย
2. ได้ผลดีจากการป้องกันน้ำระเหยออกไปจากคอนกรีต
3. ไม่ต้องราดน้ำให้ชุ่มอยู่ภายใน
1. บางมาก ชำรุดง่าย
2. ต้องหาของหนักทับเพื่อกันปลิว
3. ราคาแพง ถ้าใช้ในการคลุมงานคอนกรีตที่กว้างมาก
3. การบ่มด้วยน้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต
มีหลายสีด้วยกัน เช่น ใสขาว เทาอ่อน และดำ สำหรับสีขาวจะเหมาะกว่า เพราะสะท้อนความร้อนและแสงได้ดีกว่า โดยการใช้พ่นคลุมพื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วๆ เช่น ลานบิน หลังคากว้างมาก งานพิเศษ หรือตึกสูง ที่นำส่งขึ้นไปได้ลำบาก
1. สะดวกรวดเร็ว
2. ได้ผลดีพอสมควร ถ้าน้ำยานั้นเป็นของแท้ และมีความเข้มข้น ตามมาตรฐานของผู้ผลิต
3. ไม่ต้องคอยรดน้ำ
4. ไว้ใช้ในกรณีที่มีการบ่มด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับการพ่นทุกครั้ง
3. ต้องใช้บุคลากรที่เคยทำการพ่นมาก่อน
4. น้ำยาเคมีที่ใช้ อาจทำอันตรายแก่ผู้อยู่ในระยะใกล้เคียงได้
4. การบ่มโดยใช้ไม้หล่อ ต้องพ่นน้ำให้ไม้มีความชื้นอยู่เสมอ ไม้แบบจะป้องกันการเสียความชื้นได้ดีมาก ฉะนั้นควรรักษาไม้แบบไว้ให้นานที่สุด หลังจากถอดแบบแล้ว จึงใช้วิธีอื่นต่อไป 1. ทำได้สะดวก
2. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
1. ต้องใช้ไม้แบบจำนวนมาก
2. ช้า เพราะต้องรอไม้แบบไปใช้งานอื่นต่อไป
3. ถ้าเป็นไม้แบบเก่า ต้องเสียเวลาทำความสะอาด
การเทคอนกรีตสำคัญอย่างมากกับคุณภาพของงานโครงสร้าง การเทคอนกรีตที่ดีควรทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตกระจายตัวให้ทั่ว ดังแผนภาพตัวอย่างนี้
การเทคอนกรีต
[ตะกร้าสินค้า]
เลือกสินค้าต่อ
คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค CPAC Sulphate Resisting Concrete
คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค CPAC Sulphate Resisting Concrete
รหัส:CCT00112
ราคา : N/A On Call โปรดโทรตรวจสอบค่ะ
ชื่อสินค้า:
คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค

รายละเอียดสินค้า:

CPAC Sulphate Resisting Concrete 

       
โครง สร้างคอนกรีตทั่วไปที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน หรือน้ำใต้ดินน้ำเสียจากบ้านเรือน จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากโรงงานผลิตสารเคมีบางประเภท จะเกิดปัญหาการผุกร่อน พองตัว และแตกร้าว อย่างรุนแรง
ทำ ให้โครงสร้างไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ได้ในที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้คอนกรีตที่สามารถทนทานต่อความเสียหายจากซัลเฟตได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกสำหรับโครงสร้างดังกล่าว ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ ไตรคัลเซียมซิลิเกต(C3S)ไดคัลเซียมซิลิเกต (C2S) และไตรแคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ในน้ำปูนซีเมนต์กับน้ำจะก่อให้เกิดสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต (CAH) และแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH)
  

     

กระบวน การกัดกร่อนของซัลเฟตจะเริ่มจากซัลเฟตอิออนของโซเดียมซัลเฟต (Na2So4) และ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4) แพร่กระจายเข้าในโพรงคอนกรีตแล้วทำปฏิกิริยากับสารประกอบ Ca(OH)2 และ CAH ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เกิดเป็นยิปซั่ม และคัลเซียมโฟอลูมิเนต Ettringite สารประกอบ ยิปซั่ม และ Ettringite ที่เกิดขึ้นนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากเดิมกว่า 2 เท่า ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยแตกเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริมทำให้เหล็กเสริม เกิดสนิม และพองตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุดและสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมจะลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นปฏิกิริยาของ MgSo4 ยังก่อให้เกิดการสลายตัวของ CSH ทำให้ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตลดลงอีกด้วย จากการวิจัยเกี่ยวกับความเสียหายจากซัลเฟตในคอนกรีตของทีมวิศวกรผู้เชี่ยว ชาญของซีแพคอย่างต่อเนื่องโดยนำปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกัดกร่อนมาพิจารณาอย่างละเอียด


ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตได้สูงสุด และเหมาะกับการใช้งานในประเทศ
    CPAC Sulphate Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดปริมาณรวมของ CAH และ Ca(OH)2 ที่เป็นสาเหตุหลัก ของความเสียหาย โดยการผสมวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสมประกอบกับการออก แบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อม ประสานที่ต่ำที่สุด และมีปริมาณซีเมนต์ในระดับที่เหมาะสม นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากซัลเฟตที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง



สั่งซื้อ
เลือกสินค้าต่อ